เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 8.สังโยชนสูตร

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่
สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั่นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’ เพราะเรามีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยจีวรมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมใช้สอยจีวรแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงฉันบิณฑบาตมาก ไม่มีใคร
ขอร้องย่อมฉันบิณฑบาตแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงใช้สอยเสนาสนะมาก ไม่มี
ใครขอร้องย่อมใช้สอยเสนาสนะแต่น้อย มีคนขอร้องเท่านั้นจึงบริโภคคิลานปัจจัย-
เภสัชชบริขารมาก ไม่มีใครขอร้องย่อมบริโภคคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารแต่น้อย
และพวกภิกษุที่อยู่ด้วยกันย่อมแสดงออกทางกาย วาจา และใจต่อเราเป็นกิริยาที่
น่าชอบใจเป็นส่วนมาก ที่ไม่น่าชอบใจเป็นส่วนน้อย น้อมนำเข้าไปแต่สิ่งที่น่าชอบใจ
เท่านั้น สิ่งที่ไม่น่าชอบใจมีน้อย เวทนาที่มีดีเป็นสมุฏฐานก็ดี มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน
ก็ดี มีลมเป็นสมุฏฐานก็ดี เกิดเพราะสันนิบาตก็ดี เกิดเพราะฤดูแปรผันก็ดี เกิดเพราะ
การบริหารไม่สม่ำเสมอก็ดี เกิดเพราะความแก่ก็ดี เกิดเพราะผลกรรมก็ดี ส่วนมาก
ย่อมไม่เกิดแก่เรา เรามีความเจ็บไข้น้อย จึงเป็นผู้ได้ฌาน 4 อันมีในจิตยิ่ง ซึ่งเป็น
เครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบันตามความปรารถนาได้โดยไม่ยาก ได้โดยไม่ลำบาก ทำให้
แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน
บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงผู้ใดว่า ‘เป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนใน
หมู่สมณะ’ บุคคลนั้นเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้องพึงกล่าวถึงเรานั้นแลว่า ‘เป็นสมณะผู้
ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ’
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

ปุตตสูตรที่ 7 จบ

8. สังโยชนสูตร
ว่าด้วยผู้สิ้นสังโยชน์

[88] ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
บุคคล 4 จำพวก1ไหนบ้าง คือ


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต [2.ทุติยปัณณาสก์]
4.มจลวรรค 8.สังโยชนสูตร

1. บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว
2. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก
3. บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม
4. บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ
บุคคลเป็นสมณะผู้ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระโสดาบัน เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิ1ในวันข้างหน้า บุคคลเป็นสมณะผู้
ไม่หวั่นไหว เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นพระสกทาคามี เพราะสังโยชน์ 3 ประการสิ้นไป
เพราะราคะโทสะและโมหะเบาบาง มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำที่สุดแห่ง
ทุกข์ได้ บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปุณฑริก เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะเหมือนดอกปทุม เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้เป็นโอปปาติกะ เพราะสังโยชน์เบื้องต่ำ 5 ประการ
สิ้นไป จะปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวนกลับมาจากโลกนั้นอีก บุคคลเป็นสมณะ
เหมือนดอกปทุม เป็นอย่างนี้แล
บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียดอ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างไร
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติอันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน บุคคลเป็นสมณะผู้ละเอียด
อ่อนในหมู่สมณะ เป็นอย่างนี้แล
ภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้แลมีปรากฏอยู่ในโลก

สังโยชนสูตรที่ 8 จบ